วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลูกต้นไม้ ช่วยลดโลกร้อน

          
            เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 กลุ่มของพวกเราได้ไปช่วยกันปลูกป่าชายเลน ที่วนอุทยานปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
            การปลูกป่าชายเลน เป็นการช่วยลดโลกร้อน และยังเป็นการช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
ดังนั้น กลุ่มของพวกเราจึงเห็นควรว่า เราควรจะชวนเชิญเพื่อนๆ และ ทุกๆคน ไปร่วมกันปลูกป่าชายเลน เพื่อช่วยโลกของเราทุกคน








วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลูกต้นไม้ ช่วยลดปัญหาโลกร้อน

ในวันที่ 18 มิถุนายน 2554 กลุ่มของพวกเราก็ได้ไปช่วยกันปลูกต้นไม้ ที่อำเภอ จอมบึง

            
                 เนื่องจากภาวะโลกร้อนเป็นผลจากภาวะเรือนกระจก ตัวการสำคัญที่สุดคือแกสที่ก่อให้เกิดภาวะ เรือนกระจกคือแกสคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจากการเผาผลาญพลังงานจากยานพาหนะ และเครื่องจักรกลต่างๆ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก 




              







                 การที่จะลดภาวะโลกร้อนได้นั้นจะต้องลดแกสเรือนกระจกให้ลดน้อยลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกสคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง กล่าวคือในตอนกลางวันต้นไม้สามารถที่จะสร้างอาหารและพลังงานขึ้นเองจากการ สังเคราะห์แสงในกระบวนการสังเคราะห์แสง  ที่ต้นไม้จำเป็นต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์ แสงแดดและน้ำในการสร้างอาหารที่จะไปสร้างความเติบโตให้ต้นไม้ จะเห็นว่าพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ให้หมดไป และปลดปล่อยออกซิเจนออกมา 


              ซึ่งปริมาณคาร์บอนได้ออกไซด์ที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงนั้นมีปริมาณ มากกว่า การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในการหายใจตอนกลางคืน พูดง่ายๆใช้ไปมากกว่าปล่อยแล้วยังช่่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่โลก 




                 ดังนั้นการปลูกต้นไม้เพิ่มให้มากเท่าที่จะมากได้จึงมีส่วนลดภาวะโลกร้อนลงได้แน่นอน 


วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าหมู่เกาะ “รัฐอะแลสกา”-เตือนภัยสึนามิ

 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 บริเวณหมู่เกาะอาลิวเซียนในรัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ เย็นวานนี้(23) โดยสหรัฐฯได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิเฉพาะท้องถิ่นแล้ว และยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิต
      
       ศูนย์เตือนภัยสึนามิประจำชายฝั่งตะวันตกและรัฐอะแลสกาของ สหรัฐฯ(WCATWC) เตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง “หนีเข้าหาแผ่นดินหรือขึ้นบนที่สูง ห่างจากบริเวณอ่าวและปากน้ำที่ติดต่อกับทะเลโดยตรง”
      
        แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.09 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีศูนย์กลางที่หมู่เกาะฟ็อกซ์ ห่างจากท่าเรืออัตกาไปทางตะวันออกราว 163 กิโลเมตร สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ แถลง
      
       “ผู้ที่รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน, เห็นสภาพคลื่นน้ำที่ผิดปกติ หรือเห็นน้ำทะเลเพิ่มและลดระดับลงผิดปกติ อาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาทีก่อนที่สึนามิจะมาถึง และควรหนีออกจากบริเวณดังกล่าวทันที” ศูนย์เตือนภัยสึนามิฯ ระบุ
      
       “บ้านเรือนและอาคารขนาดย่อมที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทนแรงสึนามิ จะได้รับผลกระทบทั้งหมด ดังนั้นอย่าเข้าไปหลบในอาคารเหล่านี้เด็ดขาด” เจ้าหน้าที่เตือน
      
       ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองแองคอเรจของรัฐอะแลสกาไปทางตะวันตก ราว 1,600 กิโลเมตร




ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธารน้ำแข็งขั้วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้
ธารน้ำแข็งทั่วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วถึงเพียงนี้

           วันเวลาแห่งความรุ่งเรืองสิ้นสุดแล้ว
การเล่นสกีในสถานที่ที่ไม่น่าจะเล่นได้แห่งนี้ขึ้นอยู่กับธารน้ำแข็งเล็กๆซึ่งทำให้เกิดลานสกีเมื่อหิมะตกในฤดูฝนของโบลิเวีย
ธารน้ำแข็งเริ่มหดตัวตั้งแต่ตอนลานสกีเริ่มเปิดดำเนินการในปี 1939
แต่ในช่วงสิบปีนี้ มันหดหายจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
     เมื่อปีที่แล้ว
ที่นี่เหลือลานน้ำแข็งที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดอยู่เพียงสามหย่อม โดยหย่อมใหญ่ที่สุดกว้างไม่กี่ร้อยเมตร
กระเช้าเชือกทอดตัวอยู่เหนือลานหิน ลากูนายืนยันว่าต้องมีการเล่นสกีที่นี่ต่อไป เขาบอกว่า
บางทีคลับอาจทำหิมะเทียม หรืออาจดึงเอาแผ่นน้ำแข็งมาช่วยกู้สถานการณ์
แต่ในระยะยาวเขารู้ดีว่าชากัลตายาเป็นอดีตไปแล้ว "การสร้างหิมะกู้คืนไม่ได้
ภาวะโลกร้อนจะดำเนินต่อไป"

     จากเทือกเขาสูงถึงพืดน้ำแข็งขั้วโลกอันกว้างใหญ่
โลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งในอัตราเร็วว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้
กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำแข็งในชากัลตายาตั้งแต่ปี 1991
ยังคิดว่าธารน้ำแข็งนี้จะอยู่ได้อีกสองสามปี
ไม่แปลกที่ธารน้ำแข็งละลายเพราะไอเสียจากรถยนต์และอุตสาหกรรมที่ทำให้อากาศร้อนขึ้น
แต่ในระยะหลังน้ำแข็งละลายในอัตราเร็วกว่าอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว

      นักวิทยาศาสตร์พบว่าธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งเปราะบางอย่างไม่น่าเชื่อ
แทนที่จะค่อยๆละลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนก้อนน้ำแข็งในฤดูร้อน
น้ำแข็งเหล่านี้กลับมีแนวโน้มจะละลายแบบทวีคูณ
เมื่อการละลายกระตุ้นให้เกิดการละลายยิ่งขึ้น ทำให้น้ำแข็งหดหายอย่างรวดเร็ว เช่นที่ชากัลตายา
ธารน้ำแข็งหดตัวเผยให้เห็นหินสีดำซึ่งเร่งการละลายเพราะหินดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์
ปฏิกิริยาตอบสนองอื่นทำให้ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บนภูเขาละลายก่อนกำหนดที่คาดประมาณไว้
และทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกเคลื่อนลงสู่ทะเล 

ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทือกเขาแอลป์อาจหายไปในศตวรรษนี้
อุทยานแห่งชาติเกลเชียร์อาจเหลือเพียงชื่อภายในปี 2030
ธารน้ำแข็งเล็กๆที่กระจายอยู่ทั่วเทือกเขาแอนดีสและหิมาลัยอาจอยู่ได้อีกสองสามทศวรรษเป็นอย่างมาก
แล้วอนาคตของพืดน้ำแข็งขนาดยักษ์ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเล่า
ไม่มีใครรู้เพราะสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว เอริก ริกนอต
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น หรือเจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory; JPL)
ขององค์การนาซา
ผู้บันทึกอัตราการละลายของน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บอกว่า "ทุกวันนี้เราเห็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้
และเกินจริงเมื่อห้าปีที่แล้ว" 
       ชะตากรรมของธารน้ำแข็งบนภูเขาหลายแห่งถูกพิพากษาแล้ว
ถ้าจะให้มีการเล่นสกีในโบลิเวียต่อไป วอลเทอร์ ลากูนา
ต้องหาลานน้ำแข็งที่ใหญ่และอยู่สูงกว่านี้ ผู้คนหลายล้านในโบลิเวีย เปรู และอินเดีย
ที่อาศัยน้ำจากการละลายของธารน้ำแข็งเพื่อการชลประทาน การบริโภค และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
อาจประสบปัญหา ขณะเดียวกันถ้าภาวะโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
ชายฝั่งหลายแห่งอาจจมอยู่ใต้น้ำ
หาก ส่วนที่เปราะบางของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาละลาย ระดับทะเลที่เพิ่มขึ้นอาจท่วมพื้นที่หลายแสนตารางกิโลเมตร อาทิ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐฟลอริดา บังกลาเทศ เนเธอร์แลนด์
และทำให้ประชากรหลายสิบล้านคนไร้ที่อยู่

      อุณหภูมิที่ทำให้ระดับทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าเรายังมีเวลาจะหยุดวิกฤติการณ์นี้
โดยลดการใช้สิ่งที่สาเหตุทำให้โลกร้อน อย่างถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สอย่างจริงจัง
แต่นักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนแน่ใจว่า หากเราใช้ชีวิตแบบเดิมไปอีก 50 ปี
เราจะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขอะไรได้อีก

      ซากปะการังโบราณสีขาวรูปร่างคล้ายศีรษะ
บันทึกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยที่อุณหภูมิและระดับทะเลสูง ปะการังที่พบบนดินในแถบฟลอริดาคีย์ส
เบอร์มิวดา และบาฮามาสเหล่านี้อายุประมาณ 130,000 ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนสมัยน้ำแข็งสุดท้าย จากที่เคยเติบโตอยู่ใต้น้ำ กลับกลายเป็นซากอยู่เหนือระดับทะเล
สมัยที่ปะการังเหล่านี้งอกงาม ระดับทะเลน่าจะสูงกว่านี้ราว 4.5-6 เมตร
ซึ่งหมายความว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่ในกรีนแลนด์ทุกวันนี้ เคยเป็นน้ำในมหาสมุทร

      แค่อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นไม่กี่องศาก็ทำให้น้ำแข็งละลายได้แล้ว
แต่สภาพอากาศในครั้งนั้นมีตัวแปรที่แตกต่างออกไป
แม้จะไม่มีการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล
แต่ การเปลี่ยนองศาการเอียงของแกนโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่งผลให้ฤดูร้อนใน ขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น 3-5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ด้วยสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นในปัจจุบัน
อาร์กติกอาจมีอุณหภูมิสูงเช่นนั้นได้ในไม่ช้า "อาจจะเป็นช่วงกลางศตวรรษนี้ก็ได้ครับ" โจนาธาน โอเวอร์เพก
ผู้ศึกษาสภาพอากาศโบราณจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา กล่าว
"อุณหภูมิในอาร์กติกอุ่นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เร็วกว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้มากเลยครับ"

 
     แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำนายปฏิกิริยาของพืดน้ำแข็งที่มีต่อสภาพอากาศที่ อุ่นขึ้น ดูจะพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คือใช้เวลาหลายพันปีกว่าพืดน้ำแข็งจะละลายและปรับสภาพเข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น
ถ้าแบบจำลองดังกล่าวถูก ระดับทะเลที่สูงขึ้นก็เป็นปัญหาที่ยังอยู่อีกไกล

     แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไม่ได้ช้าเช่นนั้น ตลอด 15
ปีที่ผ่านมา คอนราด สเตฟเฟน จากมหาวิทยาลัยโคโรลาโดที่เมืองโบลเดอร์
ใช้เวลาช่วงฤดูใบไม้ผลิศึกษาน้ำแข็งจากแคมป์ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกรีนแลนด์
นักวิจัยสภาพอากาศเชื้อสายสวิสรูปร่างผอม
ผิวกร้านจากลมและแสงจากธารน้ำแข็งผู้นี้กลับไปยังหมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว
เขาและเพื่อนร่วมทีมนั่งรอให้หมอกที่ขัดขวางการขึ้นบินของเฮลิคอปเตอร์จางลง
"เห็นได้ทุกที่เลยครับว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปจริงๆ" เขากล่าว

     นอกชายฝั่ง
กองทัพภูเขาน้ำแข็งสีเงินยวงที่ลอยล่องกลางแสงโพล้เพล้คือหลักฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
ภูเขาน้ำแข็งนี้มาจากฟยอร์ดลึกที่ซึ่งธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ไหลลงสู่ทะเล

 
     น้ำแข็งดูแข็งราวกับหินเวลาที่เรากัดก้อนน้ำแข็งหรือลื่นล้มในแอ่งน้ำแข็ง แต่เมื่อรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดมหึมา มันกลับไหลเยิ้มเหมือนลูกอม
ในกรีนแลนด์ น้ำแข็งไหลจากแกนของพืดน้ำแข็ง
ซึ่งเป็นโดมน้ำแข็งขนาดเท่าอ่าวเม็กซิโก ถ้าไม่ระเหยหมดไปบนฝั่ง
น้ำที่ละลายก็จะไหลลงธารพืดน้ำแข็งที่ไหลรี่สู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ซึ่งมีความกว้าง 6.5
กิโลเมตรและหนาเกือบ 1,000 เมตรเปรียบได้กับเม่น้ำแอมะซอนที่จับตัวแข็ง
และปล่อยน้ำแข็งลงทะเลมากกว่าธารน้ำแข็งแห่งใดในกรีนแลนด์

      ยาคอบซาเวนละลายในอัตรา 37 เมตรต่อวัน
หรือเร็วขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันธารน้ำแข็งนี้ปล่อยน้ำแข็ง 46 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
ทำให้อ่าวฟยอร์ดมีภูเขาน้ำแข็งใหม่ๆลอยเต็มไปหมด

      อัตราการละลายในบริเวณอื่นของกรีนแลนด์ก็สูงขึ้นเช่นกัน
เมื่อปีที่แล้ว เอริก ริกนอต รายงานผลการตรวจวัดด้วยเรดาร์ดาวเทียมว่า
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ทางซีกใต้ของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไหลเร็วขึ้น
บางแห่งเร็วกว่ายาคอบซาเวนอีก เขาคำนวณว่ากรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งทั้งสิ้น 224 ลูกบาศก์กิโลเมตรในปี
2005 มากกว่าสิบปีที่แล้วถึงสองเท่า
และมากเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์บางคนจะทำใจให้เชื่อได้ 

  
ติ่งธารน้ำแข็ง (outlet glacier) สองแห่งชะลอความเร็วนับแต่นั้น
แต่ดาวเทียมอื่นๆตรวจพบว่า ควานโน้มถ่วงของกรีนแลนด์ลดลงเพียงเล็กน้อย
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ากรีนแลนด์กำลังสูญเสียน้ำแข็งหลายร้อยลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
วาลีด อับดาลาติ นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา
ผู้ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา กล่าวว่า "พืดน้ำแข็งเริ่มขยับแล้วครับ"

     ขณะที่ยาคอบซาเวนเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ส่วนปลายที่ยื่นออกสู่ทะเลและลอยอยู่เหนือผิวน้ำบริเวณฟยอร์ดก็เริ่มแตกและหดตัว นับตั้งแต่ปี 2000
ปลายของธารน้ำแข็งนี้หดหายไปถึง 6.5 กิโลเมตร
เพิ่มจำนวนภูเขาน้ำแข็งในอ่าวฟยอร์ดให้หนาแน่นขึ้น
ธารน้ำแข็งที่ไหลลงทะเลหลายแห่งในกรีนแลนด์ต่างสูญเสียส่วนปลายไปบางส่วนหรือทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการพังทลายอย่างรวดเร็ว อับดาลาติอธิบายว่า
"น้ำแข็งที่ลอยอยู่ทำหน้าที่เหมือนโขดหินลาดเขาที่ช่วยกั้นน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังครับ เมื่อน้ำแข็งด้านหน้าละลาย
จึงเหมือนเป็นการเปิดจุกก๊อกให้ธารน้ำแข็ง"

      สภาพอากาศในกรีนแลนด์อุ่นขึ้นอย่างชัดเจน
อุณหภูมิในฤดูหนาวที่แคมป์น้ำแข็งของสเตฟเฟนสูงขึ้นราวห้าองศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 1993
แต่ก่อนนักวิจัยผู้ขี่รถลุยหิมะไปยังสถานีอันห่างไกลมั่นใจได้ว่าหิมะจะแข็งไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
แต่ปีที่แล้วพวกเขาติดหล่มหิมะที่ละลาย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
หมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลและมีป้ายข้ามถนนของเลื่อนสุนัข
ต้องเผชิญหิมะละลายในฤดูหนาว "อุณหภูมิควรจะติดลบยี่สิบองศา
แต่ฝนกลับตกลงมาน่ะครับ" สเตฟเฟนบอก



ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=sakura2&jnId=11863

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกาะมัลดีฟส์จะหายไปเพราะภาวะโลกร้อน


หมู่เกาะมัลดีฟส์ หรือชื่อเรียกเต็มๆว่า สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว่า 1,900 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศศรีลังกาและประเทศอินเดีย
มัลดีฟส์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของเกาะที่สวยงาม ดำน้ำดูแนวปะการังและสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย เกาะมัลดีฟส์ถือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของทุกคนที่ไปเยือนเลยก็ว่าได้
แต่ภาวะโลกร้อนก็ทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เมื่อผลการวัดระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เซนติเมตร คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20-60 เซนติเมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเราจะพบพายุที่บริเวณเกาะมัลดีฟส์บ่อยขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและนักท่องเที่ยวอย่างมากแน่นอน ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารเกียวโต (เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการในการรับมือกับภาวะโลกร้อน)





วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิ้นโลก! หมู่เกาะ “เดอะเวิลด์” ของดูไบเงียบเหงา-น้ำกัดเซาะชายฝั่งจนเริ่มจมทะเล


เอเจนซี - จากอภิมหาโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของตล าดอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาวันนี้กลับทำให้หมู่เกาะฝีมือมนุ ษย์อย่าง “เดอะเวิลด์” กลายเป็นเหมือนโลกที่ใกล้แตกดับเต็มทน

ศาลดูไบได้รับฟังสัปดาห์นี้ว่า โครงการที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็กๆเรียงตัว กันเป็นรูปทรงคล้ายแผนที่โลกกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ เมื่อหลายเกาะกำลังจะจมลงสู่มหาสมุทร

หมู่เกาะ “เดอะเวิลด์” อยู่ห่างจากชายฝั่งดูไบประมาณ 1.5 ไมล์ แต่แทบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อเกาะ “ประเทศ” ของตนเองต้องเผชิญวิกฤตการเงิน อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก

บริษัท เพนกวิน มารีน ซึ่งได้รับสัมปทานเรือเฟอร์รี ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอยกเลิกสัญญากับ นาคีล ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเดอะเวิลด์ หลังจากธุรกิจซบเซาหนักและผืนทรายบนเกาะก็ถูกกัดเซาะ จนจมหายไปในทะเลบางส่วนแล้ว

ริชาร์ด วิลม็อต-สมิธ คิวซี ทนายชาวอังกฤษซึ่งเป็นตัวแทน เพนกวิน มารีน ให้การต่อศาลทรัพย์สินว่า หมู่เกาะเดอะเวิลด์ “กำลังจมหายไปในทะเลอย่างช้าๆ” และเสริมว่า ชายหาดที่ถูกกัดเซาะถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจน

ขณะนี้มีเพียงเกาะประเทศกรีนแลนด์เท่านั้นที่ยังมีผู ้อยู่อาศัย โดยบ้านบนเกาะหลังหนึ่งเป็นของผู้ปกครองดูไบ

แม้ว่า นาคีลจะปฏิเสธคำอ้างของเพนกวิน มารีน ที่ว่าโครงการดังกล่าว “พับ” เสียแล้ว แต่ก็ยอมรับว่า เดอะเวิลด์กำลังประสบวิกฤตการเงินอย่างรุนแรง

“นี่เป็นโครงการในระยะ 10 ปี ซึ่งอาจจะซบเซาลง แต่ก็จะต้องทำให้เสร็จสิ้น” นาคีลแถลง พร้อมระบุว่า เพนกวิน มารีน จะได้เห็นนักลงทุนกลับมาสู่เดอะเวิลด์อีกแน่นอน

ศาลทรัพย์สินของดูไบมีคำตัดสินเข้าข้างนาคีล เมื่อวันพฤหัสบดี (20) ที่ผ่านมา โดยจะแถลงรายละเอียดภายหลัง

ด้านโฆษกของนาคีลยืนยันว่า หมู่เกาะเดอะเวิลด์ไม่ได้จมทะเลดังที่ถูกกล่าวหา

“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเราได้ตรวจสอบอยู่เป็นระยะและยังไม่พบการ กัดเซาะที่รุนแรงจนต้องนำทรายมาเสริมเลย” แถลงการณ์ของนาคีลระบุ

โครงการเดอะเวิลด์กำลังเผชิญปัญหาด้านการเงินอย่างหน ัก เมื่อนักธุรกิจที่ซื้อเกาะ “ไอร์แลนด์” ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะกิจการล้ม ส่วนนักธุรกิจชาวอังกฤษที่ทุ่มเงิน 43 ล้านปอนด์ เพื่อซื้อเกาะ “อังกฤษ” ก็ถูกศาลสั่งจำคุก 7 ปีเพราะจ่ายเช็คเด้ง

ข่าวลือเรื่องหมู่เกาะเดอะเวิลด์เริ่มแพร่สะพัด หลังจากที่รอยเตอร์เผยผลสำรวจซึ่งพบว่า ราคาบ้านในดูไบจะตกลงราว 10 เปอร์เซ็นต์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตกลงถึง 58 เปอร์เซ็นต์จากราคาสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2008

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปสถิติเหตุการณ์ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติปี 2010 และบทวิเคราะห์จาก ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา


ในสถานการณ์ตอนนี้อะไรก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขอผู้อ่านทุกท่านใช้สติปัญญาและความรอบรู้ รอบด้านก่อนที่จะเชื่อข้อมุลจากด้านใดด้านหนึ่ง อย่าวิตก หรืออย่ากลัว...


"เพราะทุกสิ่งจำต้องบังเกิดขึ้น...."


*เปิดศักราชใหม่วันที่ 12 มกราคม 2553กิดแผ่นดินไหวที่ "เฮติ"ขนาด 7.0 ริกเตอร์ สร้างความเสียหายมากมายมหาศาล โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์เมืองหลวงของประเทศเฮติ ทั้งนี้ ได้มีการประมาณว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มากกว่า 3 ล้านคน รัฐบาลเฮติรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 3 แสนคน ผู้บาดเจ็บอีกกว่า 3 แสนคน และอีกกว่า 1 ล้านคนยังไม่มีที่อยู่อาศัย
 

* เดือนต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ ที่ นอกชายฝั่งแคว้นเมาเลประเทศชิลี จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายของทรัพย์สินชนิด "ราบพนาสูญ"ที่น่าตกใจกว่าความเสียหายซึ่งมากมายมหาศาลแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้แกนโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม 3 นิ้วส่งผลให้ระยะเวลาสั้นลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) เลยทีเดียว

* วันที่ 8 มีนาคม 2553กิดพายุทำให้เกิดฝนตกหนักในนครเมลเบิร์น วัดระดับน้ำฝนได้ 26 มิลลิเมตร พื้นที่อื่นวัดระดับน้ำฝนได้สูงถึง 70 มิลลิเมตร นอกจากนี้ ยังมีลูกเห็บยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 4 นิ้ว หรือเท่ากับลูกเทนนิส มีประชาชนแจ้งขอรับความช่วยเหลือมากกว่า 4,000 คน


* วันที่ 20 มีนาคม 2553กิดการปะทุของภูเขาไฟชื่อดังในไอซ์แลนด์ จริง ๆ แผ่นดินไหวได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 ในครั้งนี้ ซึ่งมีการจัดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟอยู่ที่ระดับ 1 การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาและได้รบกวนการจราจรทางอากาศในทวีปยุโรปมหาศาล ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารนับล้านๆ คน


* ทิ้งท้ายกับภัยธรรมชาติในวันที่ 31 มีนาคม 2553กิดแผ่นดินไหวรุนแรงในอ่าวเบงกอล วัดขนาดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์ที่หมู่เกาะอันดามันแอนด์ นิโคบาร์ ในอ่าวเบงกอล


* เดือนถัดมาเรียกว่า "ภัยธรรมชาติ" หายใจรดต้นคอโลกใบนี้ราวกับโกรธแค้น วันที่ 7 เมษายน 2553 เมื่อเวลา 05.15 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ขณะที่คนกำลังหลับใหล เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีความรุนแรง 7.8 ริกเตอร์ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหลังจากนั้นเกิดคลื่นสึนามิ สูง 1.5 ซม.ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นคลื่นขนาดเล็ก


* อีก 1 อาทิตย์ถัดมา เกิดภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งตอนใต้ของเกาะไอซ์แลนด์ระเบิดปะทุขึ้นฟ้าสูงถึง 8 กิโลเมตร ฝุ่นขี้เถ้าลอยสูงกว่า 6 พันเมตร และฟุ้งกระจายไปทั่วประเทศ และหลายประเทศในยุโรปตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.เป็นต้นมา กลุ่มควันและเถ้าละอองปลิวฟุ้งขึ้นไปบนท้องฟ้าก่อให้เกิดอันตรายกับเครื่อง ยนต์ไอพ่นของเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินในภูมิภาคยุโรปต้องยกเลิกเที่ยวบิน สร้างความโกลาหนอย่างมากมาย


* ในวันเดียวกันที่ประเทศจีนเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก มีความรุนแรง 6.9 หรือ 7.1 ริกเตอร์ บริเวณเขตปกครองตนเองยูซู มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเวลา 07.49 น. (ตามเวลาในท้องถิ่น) สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีน รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 2,220 ราย สูญหาย 70 ราย และบาดเจ็บ 12,135 ราย ซึ่งในที่นี้บาดเจ็บสาหัสเกือบ 2 พันราย


* เหตุการณ์โลกพิโรธต่อมาเกิดขึ้นวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 พายุทอร์นาโด และพายุลูกเห็บที่เมืองซุ่ยหัว ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮาร์บินประมาณ 120 กิโลเมตร ในมณฑลเฮยหลงเจียง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บมากมาย


* วันที่ 1 มิถุนายน 2553กิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ที่นอกหมู่เกาะอันดามันของอินเดียที่ระดับความลึก 127 กิโลเมตร และมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างประมาณ 120 กิโลเมตร จากเมืองพอร์ตแบลร์ของหมู่เกาะอันดามัน


* วันที่ 5 มิถุนายน 2553 เกิดพายุทอร์นาโดพัดถล่มทางภาคตะวันตกด้านกลางของสหรัฐอเมริกา


* วันที่ 7 มิถุนายน 2553 ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศคู่แค้นกับอเมริกา "รัสเซีย" และมีรายงานข่าวภูเขาไฟระเบิดอย่างต่อเนื่องมากถึง 3 ครั้งต่อชั่วโมงที่ประเทศเอควาดอร์


* วันที่ 9 มิถุนายน 2553กิดแผ่นดินไหวขนาดเกือบ 6 ริกเตอร์ ที่บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นยังเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะวาเนาตู (Vanautu) ขนาด 6.0 ริกเตอร์อีกต่างหาก


* วันที่ 10 มิถุนายน 2553 เกิดน้ำท่วมขนาดใหญ่ที่รัฐเท็กซัส ของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา


* วันที่ 12 มิถุนายน2553 ราวตี 1 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งประเทศอินเดีย ซึ่งห่างจากซีกตะวันตกของหมู่เกาะนิโคบาร์ไปประมาณ 150 กิโลเมตรที่ความลึก 35 กิโลเมตร


* วันที่ 13 มิถุนายน 2553 เหตุภัยพิบัติพายุฝน และดินถล่มทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวจีนไปจำนวนหนึ่ง สำหรับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินประมาณ 43,000 ล้านหยวน และมีผู้อพยพกว่าเกือบ 3 ล้านคน


* วันที่ 16 มิถุนายน 2553 เกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณเกาะไบแอ็ก (Biak) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะปาปัว วัดความสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์


* วันที่ 18 มิถุนายน 2553 ประเทศจีนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มฉับพลันในพื้นที่ 74 เมือง ของ 6 มณฑล ประมาณการณ์ว่าประชาชนกว่า 2.56 ล้านคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้


* เดือนกรกฎาคม วันที่ 14กิดเหตุน้ำท่วม และดินถล่มจากฝนตกหนักทางภาคใต้ของจีน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน


* วันเดียวกัน เหตุการแผ่นดินไหวอินโดนีเซียขนาด 5.6 ริกเตอร์


* 2 วันถัดมา หรือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 เกิดพายุโซนร้อน "โกนเซิน" (Conson) ณ บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 600 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม


* ปลายเดือนกรกฎาคมจนถึงราวต้นเดือนกันยายน 2553 เกิดไฟป่าในรัสเซียนับหลายร้อยแห่ง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในประวัติศาสตร์รัสเซีย และความแห้งแล้งในภูมิภาค มีการประมาณผู้เสียจริงอาจสูงถึง 8,000 คน


* สิงหาคม เริ่มต้นด้วยความเศร้าอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคม 2553 ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน จากผลพวงของพายุฤดูร้อน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 ราย


* 8 สิงหาคม 2553 เกิดอุทกภัย และแผ่นดินถล่มที่จีน เนื่องมาจากฝนตกหนัก ที่เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 127 คน สูญหายอีก กว่า 1,300 คน


* 7 วันถัดมาเกิดเหตุไฟป่าในโบลิเวียเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินเนื่องจากพบว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นมากกว่า 25,000 จุดทั่วประเทศ ไฟป่าได้ผลาญทำลายบ้านเรือนไปเกือบ 60 หลังคาเรือน


* 6 กันยายน 2553 โคลนถล่มกัวเตมาลา พบผู้เสียชีวิตและสูญหายพุ่งเกินกว่า 100 ราย


* มาถึงคิวประเทศไทย วันที่ 10-30 ตุลาคม 2553 เกิดอุทกภัยในประเทศไทย เป็นเหตุการณ์การเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่แบบที่ หลายคนยังประเมินความเสียหายไม่ได้


* 25 ตุลาคม 2553 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย ขนาดความรุนแรง 7.7


* 26 ตุลาคม 2553 ภูเขาไฟเมราปี (Merapi) ระเบิดซ้ำที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีรัศมีการกระจายของขี้เถ้าขยายเป็นวงกว้างประมาณ 2-4 กิโลเมตร


* 27 ตุลาคม 2553 สึนามิถล่มซ้ำที่หมู่เกาะ เมนตาไว ประเทศอินโดนีเซีย ความรุนแรงถึง 7.2 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 108 คน และสูญหายราว 500 คน


* 1 พฤศจิกายน 2553 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ความเสียหายของประเทศไทย กับการเดินทางผ่านของพายุดีเปรสชั่นถล่มภาคใต้ ฯลฯ
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก
แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไขปริศนา "โลกเอาคืน" ผ่านไทยรัฐ ออนไลน์ว่า หลายคนสงสัยว่า ภัยธรรมชาติมากมายที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2010 นี้ถือได้ว่าเป็นการเอาคืนมนุษย์ผู้ทำลายของธรรมชาติไหม

"พูดได้ครับ เพราะหลายอย่างเกี่ยวข้องกันกันอย่างมาก เช่น การเกิดพายุมีคนโยงว่ามันเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนที่มันทำให้สภาพโดยร่วม มันเปลี่ยนแปลงไปบ้างเลยทำให้พายุที่เกิดขึ้นมากมายในวงรอบที่มันเปลี่ยนไป หรือว่ามาเกิดในที่ ที่ไม่เคยเกิดและเพิ่มดีกรีความรุนแรงอีกต่างหาก ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าทั่วโลกกำลังพยายาม รณรงค์หรือแม้กระทั่งมีข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกใกล้แตกเหล่านี้ เนื่องจากไม่อยากไปให้ถึงจุดที่จะเกิดนั้นจริงๆ"

ถามว่าหากโลกใบนี้ แตก "มนุษย์จะสูญพันธุ์" ไหม ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บอกว่า

"ถ้าวันนี้เราไม่สู้หรือไม่ทำ อะไรเลย
จินตนาการที่ว่าโลกแตกมนุษย์สูญพันธุ์นั้น
"มันก็เป็นไปได้..."

แต่ก่อนหน้านั้นมันคงจะถึงจุดที่เราเริ่มตระหนักถึงความอันตราย และเราคงไม่งอมือ งอเท้ากันขนาดนั้นซึ่งตอนนี้ทั่วโลกก็พยายามทำกันอยู่ แต่ถ้าเราพูดในสมมติฐานว่าเรา

"ถ้าไม่ทำอะไรเลย..." ยังทำร้ายโลกกันแบบนี้ผมเชื่อว่าอีกสัก 50-60 ปี อาจจะต้องมีคนที่ต้องเสียสละ แน่นอนว่าเราอาจจะพาคนทั้ง7ล้านคนทั่วโลกไปด้วยไม่ได้ทั้งหมดมันอาจจะมีบาง คนเท่านั้นที่ไปรอดจากภัยธรรมชาติที่จะทำให้มนุษย์นั้นสูญพันธุ์ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกที่มนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ต้องรับมือในตอนนี้ก็คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และอากาศในระดับที่มันรุนแรงมากขึ้น เพราะวันนั้นเราสามารถได้เห็นประเทศอย่าง "บังกลาเทศ" หรือประเทศหมู่เกาะที่มันจมหายไปแล้ว หลายทวีปก็ส่อแววแบบนั้นเหมือนกัน"

เจ้าของฉายา ด็อกเตอร์ โลกร้อนย้ำว่า อีก 50 ปี จากนี้เรามีสิทธิ์เห็นสภาพบังกลาเทศ หรือประเทศจมน้ำไปแน่นอน

"ถามว่าแล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไรนับจากนี้ จริง ๆ ประเทศไทยถือว่าอยู่ในกลุ่มที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างน้อย เราอาจจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เราอาจจะเห็นคนอย่างบังกลาเทศมาอยู่เมืองไทยมากขึ้น ซึ่งผลกระทบหนัก ๆ ไม่จำเป็นจะต้องเกิดโดยตรง ๆ เช่น ถ้าวันหนึ่งประเทศไทยอาจจะผลิตข้าวให้กับโลกเท่านั้นเท่านี้ โดยอาจจะมีองค์การอาหารโลกมากำหนดไม่ใช่ผลิตไป เรื่อย ๆ ตามใจประเทศเราประเทศเดียว เป็นผลกระทบทางอ้อมทางเศรษฐกิจการเมือง สังคม จะมารูปแบบนี้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้"

นอกจากนี้ผลกระทบภายในที่เราต้องเผชิญก็คือถึงวันหนึ่งประชากรเราก็จะหนา แน่นมากขึ้นทว่าทรัพยากรที่เคยมีให้ใช้กันอย่างสุขสบายในประเทศไทยก็จะมี น้อยลงทุกทีพูดง่ายๆ คือเราจะมีทางเลือกที่น้อยลงซึ่งตอนนี้เราจะต้องมาร่วมกันเพื่อหาวิธีการที่ จะทำให้คนของเราไม่เพียงอยู่ที่ไม่เพียงแค่อยู่รอดได้ต้องอยู่รอดได้อย่างดี จากสภาวะโลกเช่นนี้

เมื่อมองว่าโลกจะต้องถึง กาลอวสานจริงๆ คำถามก็คือวันนี้ "นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก" มีการมองว่าจะทิ้งโลกที่อนาคตกำลังจะแตกเอาไว้ไหม...? ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกร้อนบอกว่า มี

"เช่นมองว่าวัน หนึ่งมนุษย์โลกอาจจะต้องไปอยู่ในใต้ทะเล ซึ่งในใต้มหาสมุทรเรายังมีพื้นที่ 60-70% ของพื้นที่ผิวโลกที่เรายังใช้ประโยชน์อยู่น้อย กระทั่งมีการพูดถึงว่าการผลิตสิ่งต่างๆ อยู่ในทะเลได้หรือเปล่า แม้แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านก็บอกว่าเรายังมีที่ ที่ไม่คิดว่าจะอยู่ เช่น แอนตาร์กติก ในเขตรัสเซีย ซึ่งตอนนี้เป็นที่ว่างๆ ต่อไปมันอาจจะเปิดกว้าง ต่อไปอาจจะมีเทคโนโลยีที่กระจายคนไปอยู่ตรงนั้นได้ เพราะตอนนี้คน 7 พันล้านคนทั่วโลกมันอยู่กันแบบกระจุกตัวเฉพาะบางแห่ง มันยังมีพื้นที่ที่คนอยู่น้อยเป็นจำนวนมาก แต่ ณ วันนี้ เรายังไม่มีวิธีการที่จะไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างมีความสุข"

สุดท้าย เมื่อถึงวันที่คนส่วนหนึ่งจะต้องเสียสละ ถามว่าแล้วประเทศไทยจะรอดกฎคัดสรรโดยธรรมชาติไหม

"มองได้หลายแนวทาง ถ้าระบบประเทศยังมีอยู่เรายังสามารถควบคุมพื้นที่ประเทศได้ เราก็จะเป็นประเทศ ที่ไม่โดนคัดออกผมเชื่อแบบนั้นเพราะประเทศไทยมีสิ่งที่อุดมสมบูรณ์มากมายแต่ถ้า มองต่อไปว่าวันหนึ่งเราอาจจะต้องพบกับระบบของคำว่า "ขอบเขตประเทศไม่มี" คือโลกเราเป็นเนื้อเดียวกัน หมายถึงมันมี "รัฐบาลโลก" ทุกคนเป็นประชาชนของโลกไม่มีคำว่า "ประเทศอีกต่อไป"

ประเทศไทยจะลำบาก เพราะว่าที่เราอยู่ได้เพราะประเทศไทยเป็นของเรา ถ้าเผื่อใครมาอยู่ก็ได้มาบริหารประเทศไทยได้ประเทศไทยจะสูญพันธุ์ วันนี้ประเทศที่อุดมสมบูรณ์จึงกลายเป็นที่ที่หลายประเทศหมายปองที่จะเข้ามา ดังนั้นเราจะมีใช้แนวความคิดเดิม ๆ แก้ปัญหาโลกไม่ได้

เช่นการ ใช้ถุงโลกร้อน หรือสร้างเขื่อนกั้นน้ำตรงไหนดี เราต้องไปไกลกว่านั้น เราจะเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่น ๆ ที่มันจะมาเป็นลูกพ่วงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกเยอะแยะ

ซึ่งตอนนี้ยังทัน แต่เราต้องเริ่มคิด เรามองให้ไกล ถ้าเรายังมองแบบเดิมๆ เราจะโดนคัดออกแน่นอน" ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโลกชื่อดังกล่าวสรุป...




ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
 8 พฤศจิกายน 2553 
http://www.thairath.co.th/content/life/124923