ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้
ธารน้ำแข็งทั่วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วถึงเพียงนี้
วันเวลาแห่งความรุ่งเรืองสิ้นสุดแล้ว
การเล่นสกีในสถานที่ที่ไม่น่าจะเล่นได้แห่งนี้ขึ้นอยู่กับธารน้ำแข็งเล็กๆซึ่งทำให้เกิดลานสกีเมื่อหิมะตกในฤดูฝนของโบลิเวีย
ธารน้ำแข็งเริ่มหดตัวตั้งแต่ตอนลานสกีเริ่มเปิดดำเนินการในปี 1939
แต่ในช่วงสิบปีนี้ มันหดหายจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
เมื่อปีที่แล้ว
ที่นี่เหลือลานน้ำแข็งที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดอยู่เพียงสามหย่อม โดยหย่อมใหญ่ที่สุดกว้างไม่กี่ร้อยเมตร
กระเช้าเชือกทอดตัวอยู่เหนือลานหิน ลากูนายืนยันว่าต้องมีการเล่นสกีที่นี่ต่อไป เขาบอกว่า
บางทีคลับอาจทำหิมะเทียม หรืออาจดึงเอาแผ่นน้ำแข็งมาช่วยกู้สถานการณ์
แต่ในระยะยาวเขารู้ดีว่าชากัลตายาเป็นอดีตไปแล้ว "การสร้างหิมะกู้คืนไม่ได้
ภาวะโลกร้อนจะดำเนินต่อไป"
จากเทือกเขาสูงถึงพืดน้ำแข็งขั้วโลกอันกว้างใหญ่
โลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งในอัตราเร็วว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้
กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำแข็งในชากัลตายาตั้งแต่ปี 1991
ยังคิดว่าธารน้ำแข็งนี้จะอยู่ได้อีกสองสามปี
ไม่แปลกที่ธารน้ำแข็งละลายเพราะไอเสียจากรถยนต์และอุตสาหกรรมที่ทำให้อากาศร้อนขึ้น
แต่ในระยะหลังน้ำแข็งละลายในอัตราเร็วกว่าอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่าธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งเปราะบางอย่างไม่น่าเชื่อ
แทนที่จะค่อยๆละลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนก้อนน้ำแข็งในฤดูร้อน
น้ำแข็งเหล่านี้กลับมีแนวโน้มจะละลายแบบทวีคูณ
เมื่อการละลายกระตุ้นให้เกิดการละลายยิ่งขึ้น ทำให้น้ำแข็งหดหายอย่างรวดเร็ว เช่นที่ชากัลตายา
ธารน้ำแข็งหดตัวเผยให้เห็นหินสีดำซึ่งเร่งการละลายเพราะหินดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์
ปฏิกิริยาตอบสนองอื่นทำให้ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บนภูเขาละลายก่อนกำหนดที่คาดประมาณไว้
และทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกเคลื่อนลงสู่ทะเล
ธารน้ำแข็งทั่วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วถึงเพียงนี้
วันเวลาแห่งความรุ่งเรืองสิ้นสุดแล้ว
การเล่นสกีในสถานที่ที่ไม่น่าจะเล่นได้แห่งนี้ขึ้นอยู่กับธารน้ำแข็งเล็กๆซึ่งทำให้เกิดลานสกีเมื่อหิมะตกในฤดูฝนของโบลิเวีย
ธารน้ำแข็งเริ่มหดตัวตั้งแต่ตอนลานสกีเริ่มเปิดดำเนินการในปี 1939
แต่ในช่วงสิบปีนี้ มันหดหายจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
เมื่อปีที่แล้ว
ที่นี่เหลือลานน้ำแข็งที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดอยู่เพียงสามหย่อม โดยหย่อมใหญ่ที่สุดกว้างไม่กี่ร้อยเมตร
กระเช้าเชือกทอดตัวอยู่เหนือลานหิน ลากูนายืนยันว่าต้องมีการเล่นสกีที่นี่ต่อไป เขาบอกว่า
บางทีคลับอาจทำหิมะเทียม หรืออาจดึงเอาแผ่นน้ำแข็งมาช่วยกู้สถานการณ์
แต่ในระยะยาวเขารู้ดีว่าชากัลตายาเป็นอดีตไปแล้ว "การสร้างหิมะกู้คืนไม่ได้
ภาวะโลกร้อนจะดำเนินต่อไป"
จากเทือกเขาสูงถึงพืดน้ำแข็งขั้วโลกอันกว้างใหญ่
โลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งในอัตราเร็วว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้
กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำแข็งในชากัลตายาตั้งแต่ปี 1991
ยังคิดว่าธารน้ำแข็งนี้จะอยู่ได้อีกสองสามปี
ไม่แปลกที่ธารน้ำแข็งละลายเพราะไอเสียจากรถยนต์และอุตสาหกรรมที่ทำให้อากาศร้อนขึ้น
แต่ในระยะหลังน้ำแข็งละลายในอัตราเร็วกว่าอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว
นักวิทยาศาสตร์พบว่าธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งเปราะบางอย่างไม่น่าเชื่อ
แทนที่จะค่อยๆละลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนก้อนน้ำแข็งในฤดูร้อน
น้ำแข็งเหล่านี้กลับมีแนวโน้มจะละลายแบบทวีคูณ
เมื่อการละลายกระตุ้นให้เกิดการละลายยิ่งขึ้น ทำให้น้ำแข็งหดหายอย่างรวดเร็ว เช่นที่ชากัลตายา
ธารน้ำแข็งหดตัวเผยให้เห็นหินสีดำซึ่งเร่งการละลายเพราะหินดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์
ปฏิกิริยาตอบสนองอื่นทำให้ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บนภูเขาละลายก่อนกำหนดที่คาดประมาณไว้
และทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกเคลื่อนลงสู่ทะเล
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทือกเขาแอลป์อาจหายไปในศตวรรษนี้
อุทยานแห่งชาติเกลเชียร์อาจเหลือเพียงชื่อภายในปี 2030
ธารน้ำแข็งเล็กๆที่กระจายอยู่ทั่วเทือกเขาแอนดีสและหิมาลัยอาจอยู่ได้อีกสองสามทศวรรษเป็นอย่างมาก
แล้วอนาคตของพืดน้ำแข็งขนาดยักษ์ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเล่า
ไม่มีใครรู้เพราะสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว เอริก ริกนอต
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น หรือเจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory; JPL)
ขององค์การนาซา
ผู้บันทึกอัตราการละลายของน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บอกว่า "ทุกวันนี้เราเห็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้
และเกินจริงเมื่อห้าปีที่แล้ว"
อุทยานแห่งชาติเกลเชียร์อาจเหลือเพียงชื่อภายในปี 2030
ธารน้ำแข็งเล็กๆที่กระจายอยู่ทั่วเทือกเขาแอนดีสและหิมาลัยอาจอยู่ได้อีกสองสามทศวรรษเป็นอย่างมาก
แล้วอนาคตของพืดน้ำแข็งขนาดยักษ์ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเล่า
ไม่มีใครรู้เพราะสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว เอริก ริกนอต
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น หรือเจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory; JPL)
ขององค์การนาซา
ผู้บันทึกอัตราการละลายของน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บอกว่า "ทุกวันนี้เราเห็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้
และเกินจริงเมื่อห้าปีที่แล้ว"
ชะตากรรมของธารน้ำแข็งบนภูเขาหลายแห่งถูกพิพากษาแล้ว
ถ้าจะให้มีการเล่นสกีในโบลิเวียต่อไป วอลเทอร์ ลากูนา
ต้องหาลานน้ำแข็งที่ใหญ่และอยู่สูงกว่านี้ ผู้คนหลายล้านในโบลิเวีย เปรู และอินเดีย
ที่อาศัยน้ำจากการละลายของธารน้ำแข็งเพื่อการชลประทาน การบริโภค และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
อาจประสบปัญหา ขณะเดียวกันถ้าภาวะโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
ชายฝั่งหลายแห่งอาจจมอยู่ใต้น้ำ
หาก ส่วนที่เปราะบางของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาละลาย ระดับทะเลที่เพิ่มขึ้นอาจท่วมพื้นที่หลายแสนตารางกิโลเมตร อาทิ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐฟลอริดา บังกลาเทศ เนเธอร์แลนด์
และทำให้ประชากรหลายสิบล้านคนไร้ที่อยู่
อุณหภูมิที่ทำให้ระดับทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าเรายังมีเวลาจะหยุดวิกฤติการณ์นี้
โดยลดการใช้สิ่งที่สาเหตุทำให้โลกร้อน อย่างถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สอย่างจริงจัง
แต่นักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนแน่ใจว่า หากเราใช้ชีวิตแบบเดิมไปอีก 50 ปี
เราจะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขอะไรได้อีก
ซากปะการังโบราณสีขาวรูปร่างคล้ายศีรษะ
บันทึกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยที่อุณหภูมิและระดับทะเลสูง ปะการังที่พบบนดินในแถบฟลอริดาคีย์ส
เบอร์มิวดา และบาฮามาสเหล่านี้อายุประมาณ 130,000 ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนสมัยน้ำแข็งสุดท้าย จากที่เคยเติบโตอยู่ใต้น้ำ กลับกลายเป็นซากอยู่เหนือระดับทะเล
สมัยที่ปะการังเหล่านี้งอกงาม ระดับทะเลน่าจะสูงกว่านี้ราว 4.5-6 เมตร
ซึ่งหมายความว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่ในกรีนแลนด์ทุกวันนี้ เคยเป็นน้ำในมหาสมุทร
แค่อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นไม่กี่องศาก็ทำให้น้ำแข็งละลายได้แล้ว
แต่สภาพอากาศในครั้งนั้นมีตัวแปรที่แตกต่างออกไป
แม้จะไม่มีการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล
แต่ การเปลี่ยนองศาการเอียงของแกนโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่งผลให้ฤดูร้อนใน ขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น 3-5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ด้วยสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นในปัจจุบัน
อาร์กติกอาจมีอุณหภูมิสูงเช่นนั้นได้ในไม่ช้า "อาจจะเป็นช่วงกลางศตวรรษนี้ก็ได้ครับ" โจนาธาน โอเวอร์เพก
ผู้ศึกษาสภาพอากาศโบราณจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา กล่าว
"อุณหภูมิในอาร์กติกอุ่นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เร็วกว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้มากเลยครับ"
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำนายปฏิกิริยาของพืดน้ำแข็งที่มีต่อสภาพอากาศที่ อุ่นขึ้น ดูจะพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คือใช้เวลาหลายพันปีกว่าพืดน้ำแข็งจะละลายและปรับสภาพเข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น
ถ้าแบบจำลองดังกล่าวถูก ระดับทะเลที่สูงขึ้นก็เป็นปัญหาที่ยังอยู่อีกไกล
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไม่ได้ช้าเช่นนั้น ตลอด 15
ปีที่ผ่านมา คอนราด สเตฟเฟน จากมหาวิทยาลัยโคโรลาโดที่เมืองโบลเดอร์
ใช้เวลาช่วงฤดูใบไม้ผลิศึกษาน้ำแข็งจากแคมป์ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกรีนแลนด์
นักวิจัยสภาพอากาศเชื้อสายสวิสรูปร่างผอม
ผิวกร้านจากลมและแสงจากธารน้ำแข็งผู้นี้กลับไปยังหมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว
เขาและเพื่อนร่วมทีมนั่งรอให้หมอกที่ขัดขวางการขึ้นบินของเฮลิคอปเตอร์จางลง
"เห็นได้ทุกที่เลยครับว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปจริงๆ" เขากล่าว
นอกชายฝั่ง
กองทัพภูเขาน้ำแข็งสีเงินยวงที่ลอยล่องกลางแสงโพล้เพล้คือหลักฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
ภูเขาน้ำแข็งนี้มาจากฟยอร์ดลึกที่ซึ่งธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ไหลลงสู่ทะเล
น้ำแข็งดูแข็งราวกับหินเวลาที่เรากัดก้อนน้ำแข็งหรือลื่นล้มในแอ่งน้ำแข็ง แต่เมื่อรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดมหึมา มันกลับไหลเยิ้มเหมือนลูกอม
ในกรีนแลนด์ น้ำแข็งไหลจากแกนของพืดน้ำแข็ง
ซึ่งเป็นโดมน้ำแข็งขนาดเท่าอ่าวเม็กซิโก ถ้าไม่ระเหยหมดไปบนฝั่ง
น้ำที่ละลายก็จะไหลลงธารพืดน้ำแข็งที่ไหลรี่สู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ซึ่งมีความกว้าง 6.5
กิโลเมตรและหนาเกือบ 1,000 เมตรเปรียบได้กับเม่น้ำแอมะซอนที่จับตัวแข็ง
และปล่อยน้ำแข็งลงทะเลมากกว่าธารน้ำแข็งแห่งใดในกรีนแลนด์
ยาคอบซาเวนละลายในอัตรา 37 เมตรต่อวัน
หรือเร็วขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันธารน้ำแข็งนี้ปล่อยน้ำแข็ง 46 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
ทำให้อ่าวฟยอร์ดมีภูเขาน้ำแข็งใหม่ๆลอยเต็มไปหมด
อัตราการละลายในบริเวณอื่นของกรีนแลนด์ก็สูงขึ้นเช่นกัน
เมื่อปีที่แล้ว เอริก ริกนอต รายงานผลการตรวจวัดด้วยเรดาร์ดาวเทียมว่า
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ทางซีกใต้ของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไหลเร็วขึ้น
บางแห่งเร็วกว่ายาคอบซาเวนอีก เขาคำนวณว่ากรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งทั้งสิ้น 224 ลูกบาศก์กิโลเมตรในปี
2005 มากกว่าสิบปีที่แล้วถึงสองเท่า
และมากเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์บางคนจะทำใจให้เชื่อได้
ถ้าจะให้มีการเล่นสกีในโบลิเวียต่อไป วอลเทอร์ ลากูนา
ต้องหาลานน้ำแข็งที่ใหญ่และอยู่สูงกว่านี้ ผู้คนหลายล้านในโบลิเวีย เปรู และอินเดีย
ที่อาศัยน้ำจากการละลายของธารน้ำแข็งเพื่อการชลประทาน การบริโภค และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
อาจประสบปัญหา ขณะเดียวกันถ้าภาวะโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
ชายฝั่งหลายแห่งอาจจมอยู่ใต้น้ำ
หาก ส่วนที่เปราะบางของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาละลาย ระดับทะเลที่เพิ่มขึ้นอาจท่วมพื้นที่หลายแสนตารางกิโลเมตร อาทิ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐฟลอริดา บังกลาเทศ เนเธอร์แลนด์
และทำให้ประชากรหลายสิบล้านคนไร้ที่อยู่
อุณหภูมิที่ทำให้ระดับทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าเรายังมีเวลาจะหยุดวิกฤติการณ์นี้
โดยลดการใช้สิ่งที่สาเหตุทำให้โลกร้อน อย่างถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สอย่างจริงจัง
แต่นักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนแน่ใจว่า หากเราใช้ชีวิตแบบเดิมไปอีก 50 ปี
เราจะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขอะไรได้อีก
ซากปะการังโบราณสีขาวรูปร่างคล้ายศีรษะ
บันทึกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยที่อุณหภูมิและระดับทะเลสูง ปะการังที่พบบนดินในแถบฟลอริดาคีย์ส
เบอร์มิวดา และบาฮามาสเหล่านี้อายุประมาณ 130,000 ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนสมัยน้ำแข็งสุดท้าย จากที่เคยเติบโตอยู่ใต้น้ำ กลับกลายเป็นซากอยู่เหนือระดับทะเล
สมัยที่ปะการังเหล่านี้งอกงาม ระดับทะเลน่าจะสูงกว่านี้ราว 4.5-6 เมตร
ซึ่งหมายความว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่ในกรีนแลนด์ทุกวันนี้ เคยเป็นน้ำในมหาสมุทร
แค่อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นไม่กี่องศาก็ทำให้น้ำแข็งละลายได้แล้ว
แต่สภาพอากาศในครั้งนั้นมีตัวแปรที่แตกต่างออกไป
แม้จะไม่มีการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล
แต่ การเปลี่ยนองศาการเอียงของแกนโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่งผลให้ฤดูร้อนใน ขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น 3-5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ด้วยสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นในปัจจุบัน
อาร์กติกอาจมีอุณหภูมิสูงเช่นนั้นได้ในไม่ช้า "อาจจะเป็นช่วงกลางศตวรรษนี้ก็ได้ครับ" โจนาธาน โอเวอร์เพก
ผู้ศึกษาสภาพอากาศโบราณจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา กล่าว
"อุณหภูมิในอาร์กติกอุ่นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เร็วกว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้มากเลยครับ"
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำนายปฏิกิริยาของพืดน้ำแข็งที่มีต่อสภาพอากาศที่ อุ่นขึ้น ดูจะพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คือใช้เวลาหลายพันปีกว่าพืดน้ำแข็งจะละลายและปรับสภาพเข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น
ถ้าแบบจำลองดังกล่าวถูก ระดับทะเลที่สูงขึ้นก็เป็นปัญหาที่ยังอยู่อีกไกล
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไม่ได้ช้าเช่นนั้น ตลอด 15
ปีที่ผ่านมา คอนราด สเตฟเฟน จากมหาวิทยาลัยโคโรลาโดที่เมืองโบลเดอร์
ใช้เวลาช่วงฤดูใบไม้ผลิศึกษาน้ำแข็งจากแคมป์ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกรีนแลนด์
นักวิจัยสภาพอากาศเชื้อสายสวิสรูปร่างผอม
ผิวกร้านจากลมและแสงจากธารน้ำแข็งผู้นี้กลับไปยังหมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว
เขาและเพื่อนร่วมทีมนั่งรอให้หมอกที่ขัดขวางการขึ้นบินของเฮลิคอปเตอร์จางลง
"เห็นได้ทุกที่เลยครับว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปจริงๆ" เขากล่าว
นอกชายฝั่ง
กองทัพภูเขาน้ำแข็งสีเงินยวงที่ลอยล่องกลางแสงโพล้เพล้คือหลักฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
ภูเขาน้ำแข็งนี้มาจากฟยอร์ดลึกที่ซึ่งธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ไหลลงสู่ทะเล
น้ำแข็งดูแข็งราวกับหินเวลาที่เรากัดก้อนน้ำแข็งหรือลื่นล้มในแอ่งน้ำแข็ง แต่เมื่อรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดมหึมา มันกลับไหลเยิ้มเหมือนลูกอม
ในกรีนแลนด์ น้ำแข็งไหลจากแกนของพืดน้ำแข็ง
ซึ่งเป็นโดมน้ำแข็งขนาดเท่าอ่าวเม็กซิโก ถ้าไม่ระเหยหมดไปบนฝั่ง
น้ำที่ละลายก็จะไหลลงธารพืดน้ำแข็งที่ไหลรี่สู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ซึ่งมีความกว้าง 6.5
กิโลเมตรและหนาเกือบ 1,000 เมตรเปรียบได้กับเม่น้ำแอมะซอนที่จับตัวแข็ง
และปล่อยน้ำแข็งลงทะเลมากกว่าธารน้ำแข็งแห่งใดในกรีนแลนด์
ยาคอบซาเวนละลายในอัตรา 37 เมตรต่อวัน
หรือเร็วขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันธารน้ำแข็งนี้ปล่อยน้ำแข็ง 46 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
ทำให้อ่าวฟยอร์ดมีภูเขาน้ำแข็งใหม่ๆลอยเต็มไปหมด
อัตราการละลายในบริเวณอื่นของกรีนแลนด์ก็สูงขึ้นเช่นกัน
เมื่อปีที่แล้ว เอริก ริกนอต รายงานผลการตรวจวัดด้วยเรดาร์ดาวเทียมว่า
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ทางซีกใต้ของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไหลเร็วขึ้น
บางแห่งเร็วกว่ายาคอบซาเวนอีก เขาคำนวณว่ากรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งทั้งสิ้น 224 ลูกบาศก์กิโลเมตรในปี
2005 มากกว่าสิบปีที่แล้วถึงสองเท่า
และมากเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์บางคนจะทำใจให้เชื่อได้
ติ่งธารน้ำแข็ง (outlet glacier) สองแห่งชะลอความเร็วนับแต่นั้น
แต่ดาวเทียมอื่นๆตรวจพบว่า ควานโน้มถ่วงของกรีนแลนด์ลดลงเพียงเล็กน้อย
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ากรีนแลนด์กำลังสูญเสียน้ำแข็งหลายร้อยลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
วาลีด อับดาลาติ นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา
ผู้ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา กล่าวว่า "พืดน้ำแข็งเริ่มขยับแล้วครับ"
ขณะที่ยาคอบซาเวนเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ส่วนปลายที่ยื่นออกสู่ทะเลและลอยอยู่เหนือผิวน้ำบริเวณฟยอร์ดก็เริ่มแตกและหดตัว นับตั้งแต่ปี 2000
ปลายของธารน้ำแข็งนี้หดหายไปถึง 6.5 กิโลเมตร
เพิ่มจำนวนภูเขาน้ำแข็งในอ่าวฟยอร์ดให้หนาแน่นขึ้น
ธารน้ำแข็งที่ไหลลงทะเลหลายแห่งในกรีนแลนด์ต่างสูญเสียส่วนปลายไปบางส่วนหรือทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการพังทลายอย่างรวดเร็ว อับดาลาติอธิบายว่า
"น้ำแข็งที่ลอยอยู่ทำหน้าที่เหมือนโขดหินลาดเขาที่ช่วยกั้นน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังครับ เมื่อน้ำแข็งด้านหน้าละลาย
จึงเหมือนเป็นการเปิดจุกก๊อกให้ธารน้ำแข็ง"
สภาพอากาศในกรีนแลนด์อุ่นขึ้นอย่างชัดเจน
อุณหภูมิในฤดูหนาวที่แคมป์น้ำแข็งของสเตฟเฟนสูงขึ้นราวห้าองศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 1993
แต่ก่อนนักวิจัยผู้ขี่รถลุยหิมะไปยังสถานีอันห่างไกลมั่นใจได้ว่าหิมะจะแข็งไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
แต่ปีที่แล้วพวกเขาติดหล่มหิมะที่ละลาย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
หมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลและมีป้ายข้ามถนนของเลื่อนสุนัข
ต้องเผชิญหิมะละลายในฤดูหนาว "อุณหภูมิควรจะติดลบยี่สิบองศา
แต่ฝนกลับตกลงมาน่ะครับ" สเตฟเฟนบอก
แต่ดาวเทียมอื่นๆตรวจพบว่า ควานโน้มถ่วงของกรีนแลนด์ลดลงเพียงเล็กน้อย
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ากรีนแลนด์กำลังสูญเสียน้ำแข็งหลายร้อยลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
วาลีด อับดาลาติ นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา
ผู้ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา กล่าวว่า "พืดน้ำแข็งเริ่มขยับแล้วครับ"
ขณะที่ยาคอบซาเวนเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ส่วนปลายที่ยื่นออกสู่ทะเลและลอยอยู่เหนือผิวน้ำบริเวณฟยอร์ดก็เริ่มแตกและหดตัว นับตั้งแต่ปี 2000
ปลายของธารน้ำแข็งนี้หดหายไปถึง 6.5 กิโลเมตร
เพิ่มจำนวนภูเขาน้ำแข็งในอ่าวฟยอร์ดให้หนาแน่นขึ้น
ธารน้ำแข็งที่ไหลลงทะเลหลายแห่งในกรีนแลนด์ต่างสูญเสียส่วนปลายไปบางส่วนหรือทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการพังทลายอย่างรวดเร็ว อับดาลาติอธิบายว่า
"น้ำแข็งที่ลอยอยู่ทำหน้าที่เหมือนโขดหินลาดเขาที่ช่วยกั้นน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังครับ เมื่อน้ำแข็งด้านหน้าละลาย
จึงเหมือนเป็นการเปิดจุกก๊อกให้ธารน้ำแข็ง"
สภาพอากาศในกรีนแลนด์อุ่นขึ้นอย่างชัดเจน
อุณหภูมิในฤดูหนาวที่แคมป์น้ำแข็งของสเตฟเฟนสูงขึ้นราวห้าองศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 1993
แต่ก่อนนักวิจัยผู้ขี่รถลุยหิมะไปยังสถานีอันห่างไกลมั่นใจได้ว่าหิมะจะแข็งไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
แต่ปีที่แล้วพวกเขาติดหล่มหิมะที่ละลาย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
หมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลและมีป้ายข้ามถนนของเลื่อนสุนัข
ต้องเผชิญหิมะละลายในฤดูหนาว "อุณหภูมิควรจะติดลบยี่สิบองศา
แต่ฝนกลับตกลงมาน่ะครับ" สเตฟเฟนบอก
ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=sakura2&jnId=11863
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น