วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าหมู่เกาะ “รัฐอะแลสกา”-เตือนภัยสึนามิ

 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 บริเวณหมู่เกาะอาลิวเซียนในรัฐอะแลสกาของสหรัฐฯ เย็นวานนี้(23) โดยสหรัฐฯได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิเฉพาะท้องถิ่นแล้ว และยังไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้เสียชีวิต
      
       ศูนย์เตือนภัยสึนามิประจำชายฝั่งตะวันตกและรัฐอะแลสกาของ สหรัฐฯ(WCATWC) เตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่ง “หนีเข้าหาแผ่นดินหรือขึ้นบนที่สูง ห่างจากบริเวณอ่าวและปากน้ำที่ติดต่อกับทะเลโดยตรง”
      
        แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.09 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีศูนย์กลางที่หมู่เกาะฟ็อกซ์ ห่างจากท่าเรืออัตกาไปทางตะวันออกราว 163 กิโลเมตร สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ แถลง
      
       “ผู้ที่รู้สึกถึงความสั่นสะเทือน, เห็นสภาพคลื่นน้ำที่ผิดปกติ หรือเห็นน้ำทะเลเพิ่มและลดระดับลงผิดปกติ อาจเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาทีก่อนที่สึนามิจะมาถึง และควรหนีออกจากบริเวณดังกล่าวทันที” ศูนย์เตือนภัยสึนามิฯ ระบุ
      
       “บ้านเรือนและอาคารขนาดย่อมที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทนแรงสึนามิ จะได้รับผลกระทบทั้งหมด ดังนั้นอย่าเข้าไปหลบในอาคารเหล่านี้เด็ดขาด” เจ้าหน้าที่เตือน
      
       ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองแองคอเรจของรัฐอะแลสกาไปทางตะวันตก ราว 1,600 กิโลเมตร




ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ธารน้ำแข็งขั้วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้
ธารน้ำแข็งทั่วโลกและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเร็วถึงเพียงนี้

           วันเวลาแห่งความรุ่งเรืองสิ้นสุดแล้ว
การเล่นสกีในสถานที่ที่ไม่น่าจะเล่นได้แห่งนี้ขึ้นอยู่กับธารน้ำแข็งเล็กๆซึ่งทำให้เกิดลานสกีเมื่อหิมะตกในฤดูฝนของโบลิเวีย
ธารน้ำแข็งเริ่มหดตัวตั้งแต่ตอนลานสกีเริ่มเปิดดำเนินการในปี 1939
แต่ในช่วงสิบปีนี้ มันหดหายจนแทบไม่เหลืออะไรเลย
     เมื่อปีที่แล้ว
ที่นี่เหลือลานน้ำแข็งที่มีลักษณะเหมือนก้อนกรวดอยู่เพียงสามหย่อม โดยหย่อมใหญ่ที่สุดกว้างไม่กี่ร้อยเมตร
กระเช้าเชือกทอดตัวอยู่เหนือลานหิน ลากูนายืนยันว่าต้องมีการเล่นสกีที่นี่ต่อไป เขาบอกว่า
บางทีคลับอาจทำหิมะเทียม หรืออาจดึงเอาแผ่นน้ำแข็งมาช่วยกู้สถานการณ์
แต่ในระยะยาวเขารู้ดีว่าชากัลตายาเป็นอดีตไปแล้ว "การสร้างหิมะกู้คืนไม่ได้
ภาวะโลกร้อนจะดำเนินต่อไป"

     จากเทือกเขาสูงถึงพืดน้ำแข็งขั้วโลกอันกว้างใหญ่
โลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งในอัตราเร็วว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้
กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำแข็งในชากัลตายาตั้งแต่ปี 1991
ยังคิดว่าธารน้ำแข็งนี้จะอยู่ได้อีกสองสามปี
ไม่แปลกที่ธารน้ำแข็งละลายเพราะไอเสียจากรถยนต์และอุตสาหกรรมที่ทำให้อากาศร้อนขึ้น
แต่ในระยะหลังน้ำแข็งละลายในอัตราเร็วกว่าอุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นแล้ว

      นักวิทยาศาสตร์พบว่าธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็งเปราะบางอย่างไม่น่าเชื่อ
แทนที่จะค่อยๆละลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนก้อนน้ำแข็งในฤดูร้อน
น้ำแข็งเหล่านี้กลับมีแนวโน้มจะละลายแบบทวีคูณ
เมื่อการละลายกระตุ้นให้เกิดการละลายยิ่งขึ้น ทำให้น้ำแข็งหดหายอย่างรวดเร็ว เช่นที่ชากัลตายา
ธารน้ำแข็งหดตัวเผยให้เห็นหินสีดำซึ่งเร่งการละลายเพราะหินดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์
ปฏิกิริยาตอบสนองอื่นทำให้ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บนภูเขาละลายก่อนกำหนดที่คาดประมาณไว้
และทำให้พืดน้ำแข็งขั้วโลกเคลื่อนลงสู่ทะเล 

ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ในเทือกเขาแอลป์อาจหายไปในศตวรรษนี้
อุทยานแห่งชาติเกลเชียร์อาจเหลือเพียงชื่อภายในปี 2030
ธารน้ำแข็งเล็กๆที่กระจายอยู่ทั่วเทือกเขาแอนดีสและหิมาลัยอาจอยู่ได้อีกสองสามทศวรรษเป็นอย่างมาก
แล้วอนาคตของพืดน้ำแข็งขนาดยักษ์ในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาเล่า
ไม่มีใครรู้เพราะสถานการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว เอริก ริกนอต
นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น หรือเจพีแอล (Jet Propulsion Laboratory; JPL)
ขององค์การนาซา
ผู้บันทึกอัตราการละลายของน้ำแข็งกรีนแลนด์ที่เพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา บอกว่า "ทุกวันนี้เราเห็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้
และเกินจริงเมื่อห้าปีที่แล้ว" 
       ชะตากรรมของธารน้ำแข็งบนภูเขาหลายแห่งถูกพิพากษาแล้ว
ถ้าจะให้มีการเล่นสกีในโบลิเวียต่อไป วอลเทอร์ ลากูนา
ต้องหาลานน้ำแข็งที่ใหญ่และอยู่สูงกว่านี้ ผู้คนหลายล้านในโบลิเวีย เปรู และอินเดีย
ที่อาศัยน้ำจากการละลายของธารน้ำแข็งเพื่อการชลประทาน การบริโภค และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
อาจประสบปัญหา ขณะเดียวกันถ้าภาวะโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
ชายฝั่งหลายแห่งอาจจมอยู่ใต้น้ำ
หาก ส่วนที่เปราะบางของแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาละลาย ระดับทะเลที่เพิ่มขึ้นอาจท่วมพื้นที่หลายแสนตารางกิโลเมตร อาทิ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐฟลอริดา บังกลาเทศ เนเธอร์แลนด์
และทำให้ประชากรหลายสิบล้านคนไร้ที่อยู่

      อุณหภูมิที่ทำให้ระดับทะเลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าเรายังมีเวลาจะหยุดวิกฤติการณ์นี้
โดยลดการใช้สิ่งที่สาเหตุทำให้โลกร้อน อย่างถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สอย่างจริงจัง
แต่นักวิทยาศาสตร์แทบทุกคนแน่ใจว่า หากเราใช้ชีวิตแบบเดิมไปอีก 50 ปี
เราจะไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขอะไรได้อีก

      ซากปะการังโบราณสีขาวรูปร่างคล้ายศีรษะ
บันทึกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยที่อุณหภูมิและระดับทะเลสูง ปะการังที่พบบนดินในแถบฟลอริดาคีย์ส
เบอร์มิวดา และบาฮามาสเหล่านี้อายุประมาณ 130,000 ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนสมัยน้ำแข็งสุดท้าย จากที่เคยเติบโตอยู่ใต้น้ำ กลับกลายเป็นซากอยู่เหนือระดับทะเล
สมัยที่ปะการังเหล่านี้งอกงาม ระดับทะเลน่าจะสูงกว่านี้ราว 4.5-6 เมตร
ซึ่งหมายความว่าน้ำแข็งส่วนใหญ่ในกรีนแลนด์ทุกวันนี้ เคยเป็นน้ำในมหาสมุทร

      แค่อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นไม่กี่องศาก็ทำให้น้ำแข็งละลายได้แล้ว
แต่สภาพอากาศในครั้งนั้นมีตัวแปรที่แตกต่างออกไป
แม้จะไม่มีการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล
แต่ การเปลี่ยนองศาการเอียงของแกนโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ส่งผลให้ฤดูร้อนใน ขั้วโลกเหนืออุ่นขึ้น 3-5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับปัจจุบัน
ด้วยสภาพอากาศที่อุ่นขึ้นในปัจจุบัน
อาร์กติกอาจมีอุณหภูมิสูงเช่นนั้นได้ในไม่ช้า "อาจจะเป็นช่วงกลางศตวรรษนี้ก็ได้ครับ" โจนาธาน โอเวอร์เพก
ผู้ศึกษาสภาพอากาศโบราณจากมหาวิทยาลัยแอริโซนา กล่าว
"อุณหภูมิในอาร์กติกอุ่นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เร็วกว่าที่ใครจะคิดว่าเป็นไปได้มากเลยครับ"

 
     แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำนายปฏิกิริยาของพืดน้ำแข็งที่มีต่อสภาพอากาศที่ อุ่นขึ้น ดูจะพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คือใช้เวลาหลายพันปีกว่าพืดน้ำแข็งจะละลายและปรับสภาพเข้ากับโลกที่ร้อนขึ้น
ถ้าแบบจำลองดังกล่าวถูก ระดับทะเลที่สูงขึ้นก็เป็นปัญหาที่ยังอยู่อีกไกล

     แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไม่ได้ช้าเช่นนั้น ตลอด 15
ปีที่ผ่านมา คอนราด สเตฟเฟน จากมหาวิทยาลัยโคโรลาโดที่เมืองโบลเดอร์
ใช้เวลาช่วงฤดูใบไม้ผลิศึกษาน้ำแข็งจากแคมป์ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในกรีนแลนด์
นักวิจัยสภาพอากาศเชื้อสายสวิสรูปร่างผอม
ผิวกร้านจากลมและแสงจากธารน้ำแข็งผู้นี้กลับไปยังหมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว
เขาและเพื่อนร่วมทีมนั่งรอให้หมอกที่ขัดขวางการขึ้นบินของเฮลิคอปเตอร์จางลง
"เห็นได้ทุกที่เลยครับว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปจริงๆ" เขากล่าว

     นอกชายฝั่ง
กองทัพภูเขาน้ำแข็งสีเงินยวงที่ลอยล่องกลางแสงโพล้เพล้คือหลักฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
ภูเขาน้ำแข็งนี้มาจากฟยอร์ดลึกที่ซึ่งธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ไหลลงสู่ทะเล

 
     น้ำแข็งดูแข็งราวกับหินเวลาที่เรากัดก้อนน้ำแข็งหรือลื่นล้มในแอ่งน้ำแข็ง แต่เมื่อรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดมหึมา มันกลับไหลเยิ้มเหมือนลูกอม
ในกรีนแลนด์ น้ำแข็งไหลจากแกนของพืดน้ำแข็ง
ซึ่งเป็นโดมน้ำแข็งขนาดเท่าอ่าวเม็กซิโก ถ้าไม่ระเหยหมดไปบนฝั่ง
น้ำที่ละลายก็จะไหลลงธารพืดน้ำแข็งที่ไหลรี่สู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งยาคอบซาเวนอีสแบร์ซึ่งมีความกว้าง 6.5
กิโลเมตรและหนาเกือบ 1,000 เมตรเปรียบได้กับเม่น้ำแอมะซอนที่จับตัวแข็ง
และปล่อยน้ำแข็งลงทะเลมากกว่าธารน้ำแข็งแห่งใดในกรีนแลนด์

      ยาคอบซาเวนละลายในอัตรา 37 เมตรต่อวัน
หรือเร็วขึ้นสองเท่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปัจจุบันธารน้ำแข็งนี้ปล่อยน้ำแข็ง 46 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
ทำให้อ่าวฟยอร์ดมีภูเขาน้ำแข็งใหม่ๆลอยเต็มไปหมด

      อัตราการละลายในบริเวณอื่นของกรีนแลนด์ก็สูงขึ้นเช่นกัน
เมื่อปีที่แล้ว เอริก ริกนอต รายงานผลการตรวจวัดด้วยเรดาร์ดาวเทียมว่า
ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ทางซีกใต้ของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ไหลเร็วขึ้น
บางแห่งเร็วกว่ายาคอบซาเวนอีก เขาคำนวณว่ากรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งทั้งสิ้น 224 ลูกบาศก์กิโลเมตรในปี
2005 มากกว่าสิบปีที่แล้วถึงสองเท่า
และมากเกินกว่าที่นักวิทยาศาสตร์บางคนจะทำใจให้เชื่อได้ 

  
ติ่งธารน้ำแข็ง (outlet glacier) สองแห่งชะลอความเร็วนับแต่นั้น
แต่ดาวเทียมอื่นๆตรวจพบว่า ควานโน้มถ่วงของกรีนแลนด์ลดลงเพียงเล็กน้อย
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่ากรีนแลนด์กำลังสูญเสียน้ำแข็งหลายร้อยลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี
วาลีด อับดาลาติ นักวิทยาศาสตร์จากองค์การนาซา
ผู้ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา กล่าวว่า "พืดน้ำแข็งเริ่มขยับแล้วครับ"

     ขณะที่ยาคอบซาเวนเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ส่วนปลายที่ยื่นออกสู่ทะเลและลอยอยู่เหนือผิวน้ำบริเวณฟยอร์ดก็เริ่มแตกและหดตัว นับตั้งแต่ปี 2000
ปลายของธารน้ำแข็งนี้หดหายไปถึง 6.5 กิโลเมตร
เพิ่มจำนวนภูเขาน้ำแข็งในอ่าวฟยอร์ดให้หนาแน่นขึ้น
ธารน้ำแข็งที่ไหลลงทะเลหลายแห่งในกรีนแลนด์ต่างสูญเสียส่วนปลายไปบางส่วนหรือทั้งหมดไปแล้ว
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการพังทลายอย่างรวดเร็ว อับดาลาติอธิบายว่า
"น้ำแข็งที่ลอยอยู่ทำหน้าที่เหมือนโขดหินลาดเขาที่ช่วยกั้นน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังครับ เมื่อน้ำแข็งด้านหน้าละลาย
จึงเหมือนเป็นการเปิดจุกก๊อกให้ธารน้ำแข็ง"

      สภาพอากาศในกรีนแลนด์อุ่นขึ้นอย่างชัดเจน
อุณหภูมิในฤดูหนาวที่แคมป์น้ำแข็งของสเตฟเฟนสูงขึ้นราวห้าองศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 1993
แต่ก่อนนักวิจัยผู้ขี่รถลุยหิมะไปยังสถานีอันห่างไกลมั่นใจได้ว่าหิมะจะแข็งไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
แต่ปีที่แล้วพวกเขาติดหล่มหิมะที่ละลาย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา
หมู่บ้านอิลูลิสซัตซึ่งอยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลและมีป้ายข้ามถนนของเลื่อนสุนัข
ต้องเผชิญหิมะละลายในฤดูหนาว "อุณหภูมิควรจะติดลบยี่สิบองศา
แต่ฝนกลับตกลงมาน่ะครับ" สเตฟเฟนบอก



ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=sakura2&jnId=11863

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกาะมัลดีฟส์จะหายไปเพราะภาวะโลกร้อน


หมู่เกาะมัลดีฟส์ หรือชื่อเรียกเต็มๆว่า สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว่า 1,900 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศศรีลังกาและประเทศอินเดีย
มัลดีฟส์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติของเกาะที่สวยงาม ดำน้ำดูแนวปะการังและสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย เกาะมัลดีฟส์ถือว่าเป็นเกาะสวรรค์ของทุกคนที่ไปเยือนเลยก็ว่าได้
แต่ภาวะโลกร้อนก็ทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เมื่อผลการวัดระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่มขึ้นถึง 4.5 เซนติเมตร คาดว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 20-60 เซนติเมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ และเราจะพบพายุที่บริเวณเกาะมัลดีฟส์บ่อยขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรของประเทศและนักท่องเที่ยวอย่างมากแน่นอน ประเทศมัลดีฟส์เป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารเกียวโต (เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ดำเนินการในการรับมือกับภาวะโลกร้อน)





วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิ้นโลก! หมู่เกาะ “เดอะเวิลด์” ของดูไบเงียบเหงา-น้ำกัดเซาะชายฝั่งจนเริ่มจมทะเล


เอเจนซี - จากอภิมหาโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของตล าดอสังหาริมทรัพย์ในดูไบ เศรษฐกิจโลกที่ซบเซาวันนี้กลับทำให้หมู่เกาะฝีมือมนุ ษย์อย่าง “เดอะเวิลด์” กลายเป็นเหมือนโลกที่ใกล้แตกดับเต็มทน

ศาลดูไบได้รับฟังสัปดาห์นี้ว่า โครงการที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยเกาะเล็กๆเรียงตัว กันเป็นรูปทรงคล้ายแผนที่โลกกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ เมื่อหลายเกาะกำลังจะจมลงสู่มหาสมุทร

หมู่เกาะ “เดอะเวิลด์” อยู่ห่างจากชายฝั่งดูไบประมาณ 1.5 ไมล์ แต่แทบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อเกาะ “ประเทศ” ของตนเองต้องเผชิญวิกฤตการเงิน อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลก

บริษัท เพนกวิน มารีน ซึ่งได้รับสัมปทานเรือเฟอร์รี ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอยกเลิกสัญญากับ นาคีล ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการเดอะเวิลด์ หลังจากธุรกิจซบเซาหนักและผืนทรายบนเกาะก็ถูกกัดเซาะ จนจมหายไปในทะเลบางส่วนแล้ว

ริชาร์ด วิลม็อต-สมิธ คิวซี ทนายชาวอังกฤษซึ่งเป็นตัวแทน เพนกวิน มารีน ให้การต่อศาลทรัพย์สินว่า หมู่เกาะเดอะเวิลด์ “กำลังจมหายไปในทะเลอย่างช้าๆ” และเสริมว่า ชายหาดที่ถูกกัดเซาะถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจน

ขณะนี้มีเพียงเกาะประเทศกรีนแลนด์เท่านั้นที่ยังมีผู ้อยู่อาศัย โดยบ้านบนเกาะหลังหนึ่งเป็นของผู้ปกครองดูไบ

แม้ว่า นาคีลจะปฏิเสธคำอ้างของเพนกวิน มารีน ที่ว่าโครงการดังกล่าว “พับ” เสียแล้ว แต่ก็ยอมรับว่า เดอะเวิลด์กำลังประสบวิกฤตการเงินอย่างรุนแรง

“นี่เป็นโครงการในระยะ 10 ปี ซึ่งอาจจะซบเซาลง แต่ก็จะต้องทำให้เสร็จสิ้น” นาคีลแถลง พร้อมระบุว่า เพนกวิน มารีน จะได้เห็นนักลงทุนกลับมาสู่เดอะเวิลด์อีกแน่นอน

ศาลทรัพย์สินของดูไบมีคำตัดสินเข้าข้างนาคีล เมื่อวันพฤหัสบดี (20) ที่ผ่านมา โดยจะแถลงรายละเอียดภายหลัง

ด้านโฆษกของนาคีลยืนยันว่า หมู่เกาะเดอะเวิลด์ไม่ได้จมทะเลดังที่ถูกกล่าวหา

“ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเราได้ตรวจสอบอยู่เป็นระยะและยังไม่พบการ กัดเซาะที่รุนแรงจนต้องนำทรายมาเสริมเลย” แถลงการณ์ของนาคีลระบุ

โครงการเดอะเวิลด์กำลังเผชิญปัญหาด้านการเงินอย่างหน ัก เมื่อนักธุรกิจที่ซื้อเกาะ “ไอร์แลนด์” ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะกิจการล้ม ส่วนนักธุรกิจชาวอังกฤษที่ทุ่มเงิน 43 ล้านปอนด์ เพื่อซื้อเกาะ “อังกฤษ” ก็ถูกศาลสั่งจำคุก 7 ปีเพราะจ่ายเช็คเด้ง

ข่าวลือเรื่องหมู่เกาะเดอะเวิลด์เริ่มแพร่สะพัด หลังจากที่รอยเตอร์เผยผลสำรวจซึ่งพบว่า ราคาบ้านในดูไบจะตกลงราว 10 เปอร์เซ็นต์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตกลงถึง 58 เปอร์เซ็นต์จากราคาสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2008

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์